ยินดีต้อนรับสู่การท่องเที่ยวสบายๆ ในวันพิเศษกับคนพิเศษ


วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 13 การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

แนวโน้มทางการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
แนวโน้มทางการท่องเที่ยว
           ภูมิภาคที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสูงที่สุดคือ  ภูมิภาคเอเชียใต้ 9.5%  และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9.1%  ส่วนอัตราการเจริญเติบโตด้านการจ้างงาน  ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราสูงเป็นอับดับที่หนึ่ง  คือ 5.2%  รองลงมาคือภูมิภาคเอเชียใต้ 4.6%
 
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)



การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หมายถึง การกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์และการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสุนทรียภาพแก่สมาชิกของสังคมในปัจจุบันและอนาคต โดยใช้ทรัพยากรอันทรงคุณค่าอย่างชาญฉลาด สามารถรักษาเอกลักษณ์ของธรรมชาติและวัฒนธรรมไว้นานที่สุด เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป

รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการ
- เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึก มีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศนั้นๆ
- เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่สร้างความรู้และให้ความรู้
- เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาท มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมจัดทำและร่วมได้รับผลประโยชน์อย่างเสมอภาค

ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- เพื่อให้การใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นไปอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด
- เพื่อรักษาทรัพยากรท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
- เพื่อป้องกันผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดกับทรัพยากรท่องเที่ยวทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


หลักการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน


  1. อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (Using Resource Sustainable)
  2. ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นและลดการก่อของเสีย (Reducing Over-Consumption and Waste)
  3. รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคมและวัฒนธรรม (Maintain Diversity)
  4. การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว (Integrating Tourism into Planning)
  5. ต้องการนำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น (Supporting Local)
  6. การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวกับท้องถิ่น(Involving Local Communities)
  7. ประชุมปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน (Consulting Stakeholders and the Public)
  8. การพัฒนาบุคลากร (Training Staff)
  9. จัดเตรียมข้อมูลคู่มือบริการข่าวสารการท่องเที่ยวให้พร้อม( Marketing Tourism Responsibly)
  10. ประเมินผล ตรวจสอบและวิจัย (Undertaking Research)
ขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying capacity) หมายถึง ปริมาณการใช้ประโยชน์พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่พื้นที่นั้นสามารถจะแบกรับไว้ได้ ก่อนที่จะเกิดความเสื่อมโทรมขึ้นกับพื้นที่นั้นๆ

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism)
 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism) หมายถึง การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

การท่องเที่ยวนิเวศประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการ
  1. เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
  2. เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ
  3. มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบ
  4. มีการจัดการด้านการให้ความรู้
  5. มีความรับผิดชอบโดยผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว
  6. เป็นการท่องเที่ยวที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความเพลิดเพลินและประทับใจ
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถแบ่งออกเป็นกิจกรรมหลัก 10 ประเภท ได้แก่
  1. กิจกรรมการเดินป่า (Hiking/ Trekking)
  2. กิจกรรมศึกษาธรรมชาติ (Nature Education)
  3. กิจกรรมถ่ายรูปธรรมชาติ บันทึกเทปวิดีโอ เทปเสียงธรรมชาติ (Nature Photography, Video Tapping And Sound of Nature Audio Taping)
  4. กิจกรรมส่อง/ ดูนก (Bird Watching)
  5. กิจกรรมศึกษา/ เที่ยวถ้ำ (Cave Exploring/ Visiting)
  6. กิจกรรมศึกษาท้องฟ้าและดาราศาสตร์ (Sky Interpretation)
  7. กิจกรรมล่องเรือศึกษาธรรมชาติ (Boat Sightseeing)
  8. กิจกรรมพายเรือแคนู/ เรือคายัค/ เรือบด/ เรือใบ (Canoeing/ Kayak/ Browbeating)/ Sailing) 
  9.  กิจกรรมดำน้ำชมปะการังน้ำตื้น (Snorkel Skin Diving)
  10. กิจกรรมดำน้ำลึก (Scuba Diving)

กิจกรรมเสริม 9 ประเภท  ได้แก่
1.  กิจกรรมชมทิวทัศน์ธรรมชาติในบรรยากาศที่สงบ (Relaxing)
2.  กิจกรรมขี่จักรยานตามเส้นทางธรรมชาติ (Terrain/ Mountain Biking)
3.  กิจกรรมปีน/ ไต่เขา (Rock/ Mountain Climbing)
4.  กิจกรรมพักแรมด้วยเต็นท์ (Tent Camping)
5.  กิจกรรมเครื่องร่อนขนาดเล็ก (Hang Glider)
6.  กิจกรรมล่องแพยาง/ แพไม้ไผ่ (White Water Rafting)
7.  กิจกรรมพักผ่อนรับประทานอาหาร (Picnicking)
8.  กิจกรรมเที่ยวน้ำตก (Waterfall Visits/ Exploring)
9.  กิจกรรมวินด์เซิร์ฟ (Windsurfing)

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agrotourism)

การท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมการเกษตรเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวหลัก สามารถดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว มีการจัดระบบการให้บริการไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร รวมทั้งมีการวางแผนป้องกันและวางแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
  1. การกสิกรรม หมายถึงการประกอบพืชไร่ พืชสวน
  2. การประมง ได้แก่ กิจกรรมการเพาะเลี้ยงและการจับสัตว์น้ำ
  3. การปศุสัตว์

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism)

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหมายถึง การท่องเที่ยวเพื่อบำบัดโรคหรือบำรุงสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจเป็นการรักษาโรค การฟื้นฟูสุขภาพและการรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
1. การท่องเที่ยวเพื่อรักษาโรคของนักท่องเที่ยว
2. การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของนักท่องเที่ยว
3. การท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยวให้ดีขึ้น





บทที่12 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว



การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce)
        คือการทำธุรกรรมผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของบริษัทและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียงและภาพ
รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบหลัก 2 ประการ คือ
  1.  รูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) โดยเกิดขึ้นระหว่างบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการทำธุรกรรมร่วมกัน
  2. รูปแบบการใช้บริการตู้จ่ายเงินสดอัตโนมัติ(ATMs)เกิดขึ้นระหว่างลูกค้าและสถาบันการเงินนั้นๆ
        ปัจจุบันนี้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยปราศจากข้อจำกัดโดยเป็นแบบ“จากทุกๆที่” (many to many) ซึ่งต่อมารูปแบบได้เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า อินเตอร์เน็ต (internet)


เหตุผลหลักที่ทำให้จำนวนบริษัทและองค์กรต่างๆ ใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น
  1.  การที่บริษัทและองค์กรสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้โดยตรงในราคาที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับราคาขายปลีกโดยไม่ต้องแบ่งปันผลกำไรให้แก่ตัวแทนจำหน่ายหรือช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ
  2. ทำให้บริษัทและองค์กรมีรายได้และมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น และขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ VS อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
  1. ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
  2. ประโยชน์ทางด้านการติดต่อสื่อสารสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
  3. ประโยชน์ทางด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ตัวอย่าง ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่นำเอาระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์
www.airasia.com
www.thaiairways.com

การนำอินเตอร์เน็ตมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
  1. การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
  2. การกระจายข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
  3. การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
  4. การจองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

บทที่ 11 องค์กรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

องค์กรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

องค์กรระหว่างประเทศ
ดำเนินการโดยภาครัฐ
  • ระดับโลก
  1. World Tourism Organization : WTO
  2. องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICOA)  องค์การนี้มีสำนักงานสาขาประจำภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิกในประเทศไทยโดยตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต (ติดกับสวนจตุจักร) ลาดพร้าว กรุงเทพฯ


  • ระดับภูมิภาค
  1. องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development-OECD)
  • ระดับอนุภูมิภาค
  1. คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน (Sub-Committee on Tourism of the Committee on Trade and Tourism)
 
ดำเนินการโดยภาคเอกชน
  • ระดับโลก
  1. World Travel and Tourism Council : WTCC สภาการเดินทางและท่องเที่ยวโลก
  2. International Congress and Convention Association: ICCA  สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ
  • ระดับภูมิภาค
  1. The Pacific Asia Travel Association :PATA
  2. ASEAN Tourism Association : ASEANTA สมาคมท่องเที่ยวอาเซียน
  3. American Society of Travel Agents ASTA สมาคมบริษัทนำเที่ยวแห่งอเมริกา
องค์กรภายในประเทศ
องค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย
  1. กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา (Ministry of Tourism and Sport )
  2. Thailand Convention and Exhibition Bureau
องค์กรภาคธุรกิจเอกชน
  1. สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thai Travel Agents :ATTA)
  2. สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (Thai Travel Agents Association: TTAA)
  3. สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวแห่งประเทศไทย (สนท. The Association of Thai Tour Operators: ATTO)
  4. สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย (สมอ. Professional Guide Association Thailand : PGA

บทที่ 10 กฎหมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

กฎหมายที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
มีกฎหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
  1. พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522
  2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
  3. พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
  4. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ถึง 2546 (รวม 5 ฉบับ)


กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว
จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
  1. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522, 2523 และ 2542
  2. พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ถึง 2548


กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
มีกฎหมายสำคัญ จำนวน 17 ฉบับ ได้แก่
  1. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
  2. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และ 2546
  3. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507, 2522 และ 2528
  4. พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484, 2522 และ 2525
  5. พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510, 2522 และ 2534
  6. ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2520
  7. พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485
  8. พระราชบัญญัติรักษาคลอง รศ. 121
  9. พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2535
  10. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
  11. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ 2535
  12. พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
  13. พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128
  14. พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 และ 2528
  15. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512, 2522 และ 2535
  16. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของชานเมือง พ.ศ.2535
  17. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518, 2525 และ 2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522, 2535 และ 2543
กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว 22 ฉบับ
  1. พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535
  2. พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547
  3. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509, 2521, 2525 และ 2546
  4. พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535
  5. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528,2537,2544
  6. พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2535
  7. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2520, 2534
  8. พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ถึง 2548
  9. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542
  10. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ 2541
  11. พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ถึง 2543
  12. พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2546
  13. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2542
  14. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ถึง 2547
  15. กฎหมายว่าด้วยทางหลวงตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 259 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515
  16. พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยพ.ศ.2494 ถึง 2543
  17. พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 ถึง 2540
  18. ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2515
  19. พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 ถึง 2540
  20. พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ.2522
  21. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 ถึง 2542
  22. พระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ถึง 2538

บทที่ 9 ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
ผลกระทบด้านบวก
  1. ช่วยทำให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภายในประเทศ (Local Income)
  2. ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล (Government Receipt)
  3. ช่วยให้เกิดการจ้างงาน (Employment)
  4. ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ (Creating new job)
  5. ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Earning)
  6. ช่วยให้เกิดภาวะดุลชำระเงิน (Balance of Payment)


ผลกระทบด้านลบ
  1. ค่าครองชีพของคนในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น (Increase of Living Expenses)
  2. ราคาที่ดินแพงขึ้น
  3. มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติ
  4. ทำให้สูญเสียรายได้ออกนอกประเทศ
  5. รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ เป็นไปตามฤดูกาล
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
ผลกระทบด้านบวก
  1. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจของบุคคล ลดความเครียด
  2. ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในชาติต่างๆ
  3. ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
  4. มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น
  5. คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณใกล้เคียง

ผลกระทบด้านลบ
  1. ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว
  2. โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลง
  3. การเลือนหายของอาชีพดั้งเดิมในท้องถิ่น
  4. ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
  5. ปัญหาโสเภณีและCommercial sex
  6. การมีค่านิยมผิดๆ จากการเลียนแบบนักท่องเที่ยว
  7. ปัญหาการบิดเบือนหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
  8. ปัญหาความไม่เข้าใจและการขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นกับนักท่องเที่ยว
  9. ปัญหาความไม่เข้าใจและการขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นกับนักท่องเที่ยว
  10. ปัญหาสังคมต่างๆ อาทิ ยาเสพติด โรคเอดส์
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
ผลกระทบด้านบวก
  1. เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรมถูกรื้อฟื้นหรือไม่เลือนจางหายไป
  2. มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น
ผลกระทบด้านลบ
  1. คุณค่าของงานศิลปะลดลง
  2. วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกนำเสนอขายในรูปแบบของสินค้าเน้นตอบสนองนักท่องเที่ยว
  3. วัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวมีบทบาทในการรับวัฒนธรรมใหม่ (Acculturate) ของคนในท้องถิ่น
  4. เกิดภาวะตระหนกและสับสนทางวัฒนธรรม (Culture Shock)
  5. การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรมนั้น(Demonstration Effect)
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบทางบวก
  1. เกิดการปรับปรุงและพัฒนาสภาพภูมิทัศน์และกายภาพให้ดีขึ้น
  2. มีการลงทุนจากภาครัฐในด้านสาธารณูปโภคเพื่อเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ
  3. เกิดการพัฒนาพื้นที่ธรรมชาติ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า
  4. เกิดมีการปรับปรุงแก้ไข มาตรการ ระเบียบตลอดจนกฎหมายต่างๆ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระยะยาว
  5. เกิดความตระหนักในการกำจัดของเสียประเภทต่าง อาทิน้ำเน่า ขยะมูลฝอย โดยเฉพาะที่พักหรือร้านอาหารที่อยู่ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว
  6. เกิดโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยว
  7. การตื่นตัวจัดตั้งมูลนิธิพิทักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ผลกระทบด้านลบ
ด้านกายภาพ
  1. พื้นที่ธรรมชาติบางส่วนถูกทำลาย เพื่อการสร้างที่พักในแหล่งธรรมชาติ
  2. กิจกรรมนันทนาการบางประเภทมีผลต่อธรรมชาติ อาทิ การตั้งแคมป์ไฟ การตัดต้นไม้
  3. การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอาจส่งผลต่อภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
  4. การท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่า อาจส่งผลต่อธรรมชาติในแง่ดินถล่ม การบุกรุกพื้นที่
ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ธรรมชาติ
  1. การรบกวนธรรมชาติอันเกิดจากการไม่จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าเยี่ยมชมธรรมชาติ
  2. เกิดการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากที่ดินในแนวทางที่ไม่เหมาะสม
  3. เกิดการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวบางราย
ด้านมลภาวะ
  1. ขยะมูลฝอยต่าง ๆ ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการที่กำจัดไม่เหมาะสม ทำลายภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยว ทั้งกลิ่น และภาพ
  2. น้ำเน่าเสีย จากผู้ประกอบการต่างๆ อาทิ โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ฯลฯ
  3. อากาศเสีย จากการก่อสร้างเนื่องมาจากการขยายตัวของแหล่งท่องเที่ยว

เมื่อผมเยือนเกาะล้าน

เกาะล้าน...สวรรค์บนดินแห่งชายทะเล
ประวัติเกาะล้าน
          ในอดีตเกาะล้านมีประชากรอาศัยสืบต่อๆ  กันมาหลายชั่วอายุคน  มีอาชีพเกษตรกรรมทำไร่ ทำสวน และประมง ดังหลักฐานคือ ต้นมะพร้าวอายุกว่าร้อยปี และชื่อของสถานที่เรียกต่างๆ  บนเกาะล้าน เช่น ท่าบรรทุก ท่าไร่ ท่าตลิ่งชัน เป็นที่ใช้ขนผลผลิตลงเรือไปขายที่ฝั่ง เกาะล้านเคยมีฐานะเป็นตำบลเกาะล้านมี 2 หมู่บ้าน เคยมีกำนันมาแล้วถึง 4 คน มีวัด และโรงเรียน ทางราชการดูแลไม่ทั่วถึง  ตำบลเกาะล้านจึงถูกยุบลงพร้อมๆ กับตำบลเขาไม้แก้ว  และตำบลตะเคียนเตี้ย  เกาะล้านจึงเหลือเพียงหมู่บ้านเดียว  และไปขึ้นรวมกับตำบลนาเกลือ  ก่อนที่เกาะล้านและตำบลนาเกลือจะขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองพัทยา  โดยรับโอนมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา


สภาพทั่วไป
          เกาะล้าน ตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ 7 ตำบลนาเกลือ  อำเภอบางละมุง  จังหวัดชลบุรี อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองพัทยา  จากชายหาดเมืองพัทยาจะสามารถมองเห็น  เกาะล้านได้ชัดเจน  เพราะอยู่ห่างจากฝั่งออกไปเพียง  7.5 กิโลเมตร การเดินทางโดยทางเรือเร็ว  ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที  และเรือโดยสารประมาณ 40 นาที หมู่เกาะล้านแต่เดิม เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ในนามว่า “หมู่เกาะปะการัง” (Coral Islands)  เพราะอุดมไปด้วยปะการังนานาชนิด  เป็นแหล่งปะการังที่สมบูรณ์แห่งหนึ่ง ของประเทศและใกล้กรุงเทพฯ มากที่สุด  โดยมีเกาะครกและเกาะสากเป็นบริวาร
 









ด้านเศรษฐกิจ
          เกาะล้านมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการบริการท่องเที่ยว   เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวโดยการสร้างแหล่งท่องเที่ยว  ร้านค้า  ร้านอาหาร  และร้านขายของที่ระลึกไว้คอยบริการเรือชมประการัง  และเรือสกูตเตอร์  สิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว  จะสร้างบริเวณริมหาดมีทั้งที่สร้างขึ้นอย่างถาวรและเป็นพิงพักชั่วคราว  ที่พักจะเป็นรีสอร์ท  และบังกะโลที่มีอยู่ไม่มากนัก  สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อบริการนักท่องเที่ยวมีเกือบทุกหาด  แต่จะมีมากคือ หาดตาแหวน  กับหาดเทียน  โดยมีร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นลักษณะโรงเรือนชั่วคราว  ร้านขายของที่ระลึกกึ่งถาวรไม่มีมาตรฐาน บริการเรือเช่าชมปะการังเป็นเรือท้องกระจก  เพื่อให้นักท่องเที่ยวนั่งชมปะการัง

 









การเดินทาง
          เกาะล้านตั้งอยู่ที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี  ระยะทางจากกรุงเทพฯประมาณ 150 กิโลเมตร  ซึ่งสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวเกาะล้านได้ ดังนี้
1. การเดินทางโดยขับรถยนต์ส่วนตัว นักท่องเที่ยวสามารถ ขับรถยนต์มาเองได้โดยสะดวกโดยใช้เส้นทางถนนสาย บางนา-ตราดใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงหรือเพื่อหลีกหนีความติดขัดของจารจรในสายสุขุวิท ก็มีทางด่วนสาย กรุงเทพ-ชลบุรี(motorway) ก็จะสะดวกกว่า
2. การเดินทางโดยรถยนต์สายประจำทางหรือรถทัวร์ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถโดยสารประจำทางมาท่องเที่ยวเมืองพัทยาได้ โดยมีรถประจำทางคอยให้บริการอยู่ 2 สถานีคือ
  • สถานีขนส่งสายเหนือ/สายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต) เป็นสถานีขนส่งรถประจำทางที่มีรถประจำทาง คอยให้บริการนักท่องเที่ยวตลอดทุก 2 ชั่วโมงโดยเที่ยวแรกจะออกประมาณ 05.45 น. ส่วนรอบสถานีสายตะวันออก (เอกมัย) เป็นสถานีขนส่งรถประจำทาเช่นเดียวกับสถานีหมอชิต ราคาค่าโดยสารประมาณ สุดท้ายประมาณ 20.00 น. อัตราค่าโดยสารประมาณ 97 บาท
โดยรถประจำทางทั้ง 2 สาย จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง นำนักท่องเที่ยวมาถึงจุดหมายที่สถานีขนส่งพัทยา ถนนสายพัทยาเหนือโดยจะมีรถประจำทาง(สองแถว)ให้บริการนักท่องเที่ยวอยู่ตลอด อัตราค่าโดยสารปกติมีราคาตั้งแต่ 10-100 บาทซึ่งแล้วแต่ระยะทาง ที่ผู้โดยสารจะเดินทางไป ซึ่งค่าโดยสารในการเดินทางมาที่ท่าเรือแหลมบาลีฮาย พัทยาใต้ อัตรค่าโดยสารประมาณ 30 บาท/คน ซึ่งเป็นท่าเรือที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวใช้ในการสัญจรข้ามไปมาระหว่างเมือง พัทยาเกาะล้าน

การเดินทางไปเกาะล้านนักท่องเที่ยวสามารถเลือกเดินทางได้ 2 วิธีคือ
1. การเดินทางโดยเรือเร็ว ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที เรือทุกลำจะมีเสื้อชูชีพไว้คอยบริการ นักท่องเที่ยว เพื่อความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางประมาณ 1500-2000 บาท/วัน
2. การเดินเรือโดยสารประจำทางไปเกาะล้านจะมีเรือคอยให้บริการนักท่องเที่ยวรอบแรกออกจากพัทยาไปเกาะล้าน 07.00 น. ส่วนจากเกาะล้านกลับเมืองพัทยาเวลา 06.30 น. โดยจะมีการเว้นระยะห่างทุก 1 ชั่วโมง/ลำ  จะใช้เวลาการเดินทาง ประมาณ 45 นาที
รอบสุดท้ายจากเมืองพัทยาไปเกาะล้านเวลา 18.30 น. แต่จาก  เกาะล้านกลับพัทยาหมดเวลา 18.00 น. อัตราค่าโดยสาร เรือทุกลำราคา 20 บาทต่อคน  ตลอดทั้งวัน
         เมื่อการเดินทางมาถึงท่าเทียบเรือเกาะล้านหรือที่ชาวเกาะล้านเรียกกันจนติดปากว่า “ท่าหน้าบ้าน” จะมีรถโดยสารประจำทาง(สองแถว) คอยให้บริการอยู่ซึ่งรถโดยสารประจำทางทุกคัน จะต้องขออนุญาตจากเมืองพัทยา เพื่อทำการขึ้นทะเบียนประวัติและสุ่มตรวจเพื่อหาสารเสพติดในร่างกายประจำทุกเดือนมีการออกกฎหมายเพื่อใช้ควบคุมในการบริการเพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว  และสะดวกในการตรวจหาผู้กระทำผิด อัตราค่าโดยสาร ประมาณ 20-30 ต่อคน 










สถานที่ท่องเที่ยวบนเกาะล้าน
-หาดตาแหวน
       จากทิศเหนือสุดของเกาะล้าน คือหาดตาแหวนเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวมากที่สุด  มีหาดทรายขาวละเอียดแนวหาดโค้งยาวมากที่สุด ในเกาะล้านถึง 750 เมตร พื้นทรายขาวตัดกับสีฟ้าครามของทะเลที่สะอาดใสจนเห็นตัวปลาว่ายไปมา  นักท่องเที่ยวกลุ่มที่ชื่นชอบ หาดนี้เป็นพิเศษ ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย เพราะนอกจากกิจกรรมหลักคือว่ายน้ำแล้ว  หาดตาแหวนยังเต็มไปด้วยกิจกรรมทางน้ำที่โลดโผน ให้ท่องเที่ยวได้เลือกอย่างมากมาย อาทิเช่นเรือรากกล้วยกิจกรรมยอดฮิต ของหมู่วัยรุ่นที่สร้างความสนุกสนานและเสียงหัวเราะอยู่ตลอดเวลา หรือจะเป็นเจ็ตสกีที่ผาดโผน ท้าทายแรงคลื่นและแขวงเกาะล้านได้มีทุ่นล้อมรอบ แบ่งเขตการเล่นน้ำ กับบริเวณการขับเรือไว้อย่างชัดเจน  เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและหาดตาแหวนแห่งนี้
ยังเป็นที่ตั้งของที่ทำการแขวงเกาะล้านหน่วยงานราชการที่ดูแลนักท่องเที่ยวและจัดระเบียบการปกครองบนเกาะล้าน 
-หาดทองหลาง
         เป็นหาดขนาดเล็กที่เงียบสงบ  เหมาะกับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อนแบบส่วนตัว กิจกรรมหลักของหาดทองหลางคือการดำน้ำดูปะการังบริเวณปลายหาด  ที่เชื่อมต่อกับหาดตาแหวนทั้ง 2 ด้านนี้ยังมีแนวปะการังน้ำตื้นที่สวยงามและมีบริการเดินชม ปะการัง ใต้น้ำ แบบ Sea Walker ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาใช้บริการโดยมีราคาค่าบริการ 700 บาท/คน  นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบปะการัง แต่ไม่ขอบการดำน้ำที่หาดนี้ยังมีบริการเรือท้องกระจก ให้สามารถลงไปชมปะการังได้อย่างใกล้ชิด โดยสามารถติดต่อเรือได้ที่แขวงเกาะล้าน

-หาดสังวาลย์
         หาดสังวาลเป็นหาดเล็กๆ อีกหาดหนึ่งที่อยู่ติดกับหาดตาแหวนมีความยาว 150 เมตร  ความงามของหาดทรายนั้นไม่แพ้ หาดตาแหวนเลยทีเดียวแต่สงบกว่า จึงเป็นนิยมของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่ชอบนอนอาบแดด ทั้งหาดตาแหวน ทองหลาง และหาดสังวาล หาดจะสวยงามมากที่สุดในช่วง เดือนธันวาคม-เมษายนเพราะคลื่นจะสงบ มีภูเขาด้านตะวันตกบังทิศทางลม ส่วนหาดด้านทิศตะวันตกท้องทะเล จะสวยงามและคลื่นสงบน่าเล่นน้ำคือช่วง เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ได้แก่หาดเทียน,หาดแสม,หาดนวล
-หาดเทียน
        หาดเทียนมีความยาวประมาณ 500 เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะล้านหาดแห่งนี้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป และนักท่องเที่ยวชาวไทย เป็นส่วนมาก มีการบริการอุปกรณ์เล่นกิจกรรมทางน้ำ ประเภท เจ็ตสกี และเรือลากกล้วย เหมือนกับหาดตาแหวน แต่จะเป็นที่น้อยกว่าจะสงบกว่า กิจกรรมหลักของหาด นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงชอบว่ายน้ำ นอนอาบแดดพักผ่อน หรือใช้บริการนวดแผนโบราณ เพ้นท์เล็บ ถักเปีย  สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักค้างคืนที่หาดเทียน  มีบังกะโลไว้บริการให้เช่าและยังมีบริการเต้นท์เช่าอีกด้วย   ส่วนนักท่องเที่ยวที่ชอบความสะดวกและทันสมัยก็ต้องที่หาดแสมครับ
-หาดแสม
      หาดแสมเป็นหาดที่มีความสวยงามมากที่สุด   อีกหาดหนึ่งมีหาดทรายขาวละเอียดยาวถึง 300 เมตร และเงียบสงบเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ต้องการพักผ่อน ปัจจุบันหาดแห่งนี้มีโครงการรีสอร์ท ขนาดใหญ่ มาตรฐานระดับโรงแรม ตกแต่งหรูหราอุปกรณ์ทันสมัย ไว้รองรับท่านที่ต้องการพักค้างคืน คือรีสอร์ทของเมืองพัทยา ที่จะเปิดให้บริการประมาณต้นปี 2548 รองรับนักท่องเที่ยวได้ 80-100 ท่าน
-หาดนวล
       หาดนวลตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะล้านมีชายหาดยาวประมาณ 250 เมตรเป็นพื้นที่ของเอกชน  ที่มีปะการังที่สมบูรณ์เหมาะกับนักท่องเที่ยวที่ชอบดำน้ำดูปะการัง และที่หาดแห่งนี้ยังมีโรงแรมขนาดเล็ก ของเอกชนไว้บริการนักท่องเที่ยว อีกด้วย

รายชื่อที่พักบนเกาะล้าน Hotel
1. เกาะล้านรีสอร์ท (Kohlarn Resort) หาดนวล (Naul Beach) โทร 081-9963942
2. วันชัยห้องพัก (Wonchai Hotel) เยื้องศาลเจ้าพ่อดำ โทร 0-3843-4051
3. อารมณ์บังกะโล (Arom Hotel) บริเวณตลิ่งชัน (Tar Taling Chan)
    โทร 089-2136653
4. ริมทะเลรีสอร์ท (Rimtalay Resort) บริเวณสนามยิงปืน (Tar Taling Chan)
     โทร 0-3843-4167
5. บ้านผกา (Paka House) บริเวณตลิ่งชัน (Tar Taling Chan) โทร 089-2136653
6. ลาลีน่ารีสอร์ท (Lareena Resort) บริเวณท่าเทียบเรือหน้าบ้าน โทร 0-3843-4083
7. บ้านทะเลเกาะล้าน (Bantalay Kohlarn) โทร 086-4187688
8. แหลมทองคลิฟ บีช รีสอร์ท (Leamtong Cliff Beach Resort)
    หาดแสม (Samae Beach) โทร 081-1564098
9. ร้านอาหารหาดเทียน (Hat Tien Restaurant) หาดเทียน (มีบริการห้องพัก)
     โทร 081-9261395